การล้างพิษของอารมณ์

เมื่อเราปล่อยให้อารมณ์สะสมในร่างกายนาน ๆ ร่างกายจะเกิดความอ่อนล้า เหนื่อยง่าย และหมดกำลังใจ อารมณ์เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ตามแนวคิดของเต๋า กลุ่มของอวัยวะมีความสัมพันธ์กับอารมณ์ดังนี้

หัวใจ มีผลต่อความรัก เมื่อมีความรักเกิดขึ้น หัวใจจะพองโตรู้สึกมีความสุข แต่ถ้าเมื่อใดเมื่อความรักไม่สมหวัง ความรักก็จะกลายเป็นตรงกันข้ามคือ ความเกลียดที่เต็มไปด้วยความร้อนตามธาตุไฟของหัวใจนั่นเอง ฉะนั้นเราควรฝึกที่จะลดความร้อนที่เกิดขึ้นในหัวใจ เพื่อให้ใจเย็นสบายและผ่อนคลาย โดยทั่วไปถ้าเรารู้สึกร้อนอึดอัดแน่นหน้าอึก หายใจไม่เต็มปอดนั้น หรือสังเกตว่าอุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเล็กน้อย ถ้าเราสังเกตสภาวะของจิตใจจะพบว่ากระวนกระวายอึดอัดใจ ซึ่งเราสามารถลดความร้อนหรือความอึดอัดได้ด้วยการ หายใจลึก ๆ และหายใจออกเปล่งเสียง ฮายาว ๆ ถ้าลองนำมือมาอังที่บริเวณปากจะพบว่า มีพลังงานความร้อนผ่านออกมา ฉะนั้นเราควรฝึกเตรียมใจให้ผ่อนคลายเพราะหัวใจจะต้องกระทบอารมณ์ต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา และเมื่อใจเย็นผ่อนคลาย อารมณ์ต่างที่เข้ามากระทบก็จะผ่านพ้นไปโดยที่หัวใจไม่ต้องรับผลกระทบอะไร เพราะเมื่อใจเราสงบร่มเย็น เรามักอยากที่จะคงไว้ที่สภาวะนั้น ๆ นั่นเอง ฉะนั้นการดูแลรักษาดวงใจ หรือหัวใจของเราให้หนักแน่นมั่นคงจึงเป็นขุมกำลังที่สำคัญของร่างกายที่จะประสานทุกเซลในร่างกายของเราทำงานประสานกันอย่างมีความสุขนั่นเอง

ตับ มีผลต่อความโกรธ เรามักเคยได้ยินกันว่า โมโหกันจนตับแลบ และเมื่อเราเริ่มโกรธนั้น เราจะเริ่มจากความโมโหและเริ่มสะสมความโกรธไว้ในร่างกายเราจนได้ระดับหนึ่ง แล้วแสดงความโกรธออกมา ส่วนใหญ่ความโกรธที่แสดงออกมานั้นเพียงครึ่งเดียวที่เราโมโหเท่านั้น หลังจากนั้นผู้ที่โกรธมักมีอาการตัวสั่น เนื่องจากร่างกายมีการใช้ปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดที่ค่อนข้างมากอย่างฉับพลัน เมื่อระดับน้ำตาลลดลงจึงทำให้มีอาการตัวสั่นเกิดขึ้นเพื่อรักษาความสมดุลของระดับน้ำตาลในกระแสเลือด จึงทำให้ผู้ที่โกรธบ่อย ๆ มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดที่ขึ้นและลงไม่สม่ำเสมอ และเมื่อมีระดับน้ำตาลที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วตลอดเวลา จึงทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดไม่คงที่ส่งผลให้ตับอ่อนทำงานหนัก และตามมาด้วยปัญหาระดับน้ำตาลในกระแสเลือด หรือที่เรียกว่าเบาหวานนั่นเอง การปรับแก้อารมณ์เปลี่ยนได้ด้วยการฝึกความเมตตา โดยเริ่มจากเมตตาทุกอณูของเซลในร่างกายและหายใจเข้า หายใจออกพร้อมทั้งออกเสียง “ชี” ให้แต่ละเซลมีความเมตตาเพื่อผนึกรวมกันเป็นความเมตตาอันยิ่งใหญ่ให้ร่างกายนั้นมีความสงบสุขอย่างสมบูรณ์

ไต จะสะสมจากความกลัว เมื่อความกลัวเกิดขึ้นในร่างกาย กล้ามเนื้อจะมีการหดตัว เมื่อกล้ามเนื้อมีการหดตัวทำให้การไหลเวียนของของกระแสเลือดในร่างกายมีการอุดกั้น เป็นสาเหตุเกิดอาการมือเท้าเย็น หรืออาการปวดที่เกิดจากความเย็นในร่างกาย ความกลัวทำให้เกิดการพร่องของพลังชี่นั่นเอง เมื่อชี่หรือพลังปราณไหลไม่สะดวกร่างกายจะมีความอ่อนล้า เหนื่อยง่าย การลดความกลัวควรต้องปรับเปลี่ยนความคิดที่เชื่อมั่นว่าทุกสรรพสิ่งมีเหตุของการเกิด และดับ พลังของความดีย่อมไหลไปรวมกันในสิ่งที่ดี ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตเป็นวิถีของการเรียนรู้ และเมื่อเราได้เรียนรู้ในเหตุการณ์นั้น ๆ แล้วด้วยความระมัดระวัง เมื่อมีการเกิดปัญหาซ้ำ ๆ เราทุกคนสามารถแก้ปัญหาได้โดยสติปัญญาที่มั่นคง โดยเราสามารถฝึกไล่ความกลัวโดย หายใจเข้าลึก ๆ และหายใจออกโดยออกเสียง “ชู” เป็นเสียงน้ำ เพื่อไล่ความกลัวออกไป

ปอด เก็บสะสมความเศร้า เมื่อเกิดความเศร้า เราพยายามที่ยึดสิ่งใด สิ่งหนึ่งมาเป็นอารมณ์เศร้าหมอง โดยที่เราพยายามจดจ่ออยู่กับสิ่งเหล่านั้น ความเศร้าจะทำให้ใจเราพะวงอยู่กับเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเศร้า ส่งผลให้เราขาดสติ และไม่พยายามหาหนทางที่จะปรับเปลี่ยนอารมณ์จากความเศร้าเป็นความมุ่งมั่นที่จะเดินออกจากความเศร้านั้น ความเศร้ามักสัมพันธ์กับความคิดเดิม ๆ ที่จำฝังใจ ซึ่งเราสามารถค่อยคลายความเศร้าด้วยกันนำความเศร้านั้นมาตีแผ่ให้เป็นขนาด รูปทรง หรือสีสัน เพื่อที่เราจะได้ฝึกเห็นตัวตนของความเศร้าอย่างชัดเจน และเรียนรู้ที่จะมองหาสิ่งอื่น ๆ ที่สวยงาม และจรรโลงสภาวะของใจ การฝึกลดความเศร้าด้วยการหายใจออกที่ออกเสียง “ซี” ที่ลดความเศร้าออกไปจากใจ หรือใช้วิถีการออกเสียงยาวเพื่อกระตุ้นพลังปราณในช่องท้อง โดยปราณจะวิ่งจากบริเวณท้องไปยังศีรษะกระตุ้นให้กระแสเลือดไปเลี้ยงให้ศีรษะเบาสบาย และที่น่าสังเกตคือผู้ที่เก็บความเศร้ามักนั่งหลังงอ ซึ่งมักทำให้กระแสเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงที่ศีรษะได้อย่าเพียงพอ
และมาถึงอวัยวะที่สำคัญที่ช่วยสร้างไขกระดูกให้เราก็คือ ม้าม มักเก็บความวิตกกังวล โดยมักจะจินตนาการหรือวาดภาพกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง โดยเราใช้เวลาคิดในสิ่งเหล่านี้ โดยลืมนึกถึงสภาวะในปัจจุบัน การฝึกหายใจเป็นการลดความวิตกกังวลที่ช่วยให้ใจจดจ่ออยู่กับการหายใจ และขณะเดียวกันก็ปรับเปลี่ยนวิธีคิดที่ปล่อยให้ทุกอย่างไปสู่วิถีของธรรมชาติที่ความสมดุลของเหตุและผลของการกระทำตามกฎของธรรมชาตินั่นเอง ส่วนในการออกเสียงนั้นใช้การหายใจเข้า และหายใจออกด้วยการออกเสียง “อุ๊” เป็นเสียงคล้ายกับการขับเสมหะในลำคอ

การออกเสียงทั้งหมดนี้เป็นกระตุ้นในระดับพลังงาน รวมทำการปรับเปลี่ยนความคิดทางอารมณ์เพื่อเป็นขั้นตอนอย่างง่ายของการล้างพิษทางอารมณ์ เพื่อปรับเปลี่ยนความคิดทางอารมณ์ไปในทางที่ดีกว่า หรือที่เรียกว่าพลังทางบวกนั่นเอง ความคิดเป็นบ่อเกิดทางอารมณ์ และอารมณ์ส่งผลต่อบุคลิกภาพ ฉะนั้นคิดดีมีสุขก็จะบ่งบอกถึงบุคลิกภาพที่ผ่อนคลาย เบาสบาย และสุกสดใสจากภายในสู่ภายนอก และมีบุคลิกภาพที่สมบูรณ์ของสุขภาวะ กาย จิตใจ และจิตวิญาณ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: